วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

การสกัดน้ำมันสบู่ดำ

สบู่ดำ เป็นพืชน้ำมันชนิดหนึ่ง น้ำมันที่ได้จากเมล็ดสบู่ดำ สามารถใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลที่เกษตรกรใช้อยู่ได้ โดยไม่ต้องใช้น้ำมันชนิดอื่นผสมอีก ใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรค ใช้ปลูกเป็นแนวรั้ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเข้าทำลายผลผลิต เนื่องจากมีสารพิษ Hydrocyanic มีกลิ่นเหม็นเขียว สบู่ดำจึงเป็นพืชที่น่าให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่งในสภาวะที่ราคาน้ำมันดีเซลมีราคาสูงอย่างในปัจจุบัน สบู่ดำมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Jatropha Curcas Linn. อยู่ในวงศ์ไม้ยางพารา ซึ่งเป็นพืชพื้นเมืองของทวีปอเมริกาใต้ ชาวโปรตุเกสนำเข้ามาปลูกในประเทศไทย ในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา เพื่อนำมาบีบน้ำมันสำหรับทำสบู่ ปัจจุบันสบู่ดำมีปลูกอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น ภาคเหนือเรียกว่ามะหุ่งฮั้ว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่ามะเยาหรือสีหลอด ภาคใต้เรียกว่ามาเคาะ

ประโยชน์ของสบู่ดำ

1.ยางจากก้านใบ ใช้ป้ายรักษาโรคปากนกกระจอก ห้ามเลือด แก้ปวดฟัน แก้ลิ้นเป็นฝ้าขาว โดยผสมกับน้ำนมมารดาป้ายลิ้น
2.ลำต้น ตัดเป็นท่อนต้มน้ำให้เด็กกินแก้ซางตาลขโมย ตัดเป็นท่อนแช่น้ำอาบแก้โรคพุพอง ใช้เป็นแนวรั้วป้องกันสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ ม้า แพะ เข้าทำลายผลผลิต
3.เมล็ด ้หีบเป็นน้ำมัน ใช้ทดแทนน้ำมันดีเซล ใช้บำรุงรากผม ใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ โดยใช้กากที่เหลือจากการหีบน้ำมัน ซึ่งมีธาตุอาหารหลัก มากกว่าปุ๋ยหมักและมูลสัตว์หลายชนิด ยกเว้นมูลไก่ที่มีฟอสฟอรัส และโปรแตสเซี่ยม มากกว่า และยังมีสารพิษ Curcin มีฤทธิ์เหมือนสลอด เมื่อกินเข้าไปแล้วจะทำให้ท้องเดิน

ลักษณะลำต้นสบู่ดำ

ต้นสบู่ดำ เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง ความสูง 2-7 เมตร อายุยืนไม่น้อยกว่า 20 ปี ลำต้นและยอดคล้ายละหุ่ง แต่ไม่มีขน ลำต้นเกลี้ยงเกลาใช้มือหักได้ง่ายเพราะเนื้อไม้ไม่มีแก่น ใบหยักคล้ายใบละหุ่งแต่หยักตื้นกว่า มี 4 หยัก

ลักษณะสบู่ดำ

ดอกสบู่ดำ ดอกสบู่ดำเป็นช่อกระจุกที่ข้อส่วนปลายยอด ขนาดเล็กสีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ มีดอกตัวผู้มากกว่าดอกตัวเมียในช่อเดียวกั

ผลสบู่ดำ ผลมีลักษณะเป็นพู โดยส่วนมากจะมี 3 พู สีเขียวอ่อน เวลาสุกแก่จัด
จะมีสีเหลืองอายุของผลสบู่ดำตั้งแต่ออกดอกถึง
ผลแก่ ประมาณ 60 – 90 วัน


ลักษณะผลสบู่ดำ

ลักษณะเปรียบเทียบผลสบู่ดำ



ลักษณะเมล็ดสบู่ดำ

เมล็ดสบู่ดำ เมล็ดมีสีดำ ขนาดเล็กกว่าเมล็ดละหุ่งพันธุ์ลายขาวดำเล็กน้อย สีตรงปลายเมล็ดมีจุดสีขาวเล็ก ๆ ติดอยู่ ความยาวประมาณ 1.7 – 1.9 เซนติเมตร หนาประมาณ 0.8 – 0.9 เซนติเมตร น้ำหนัก 100 เมล็ด ประมาณ 69.8 กรัม
แมลงที่เข้าทำลายต้นสบู่ดำ ไรขาว เป็นศัตรูอันดับ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง เพลี้ยจักจั่น

การขยายพันธุ์สบู่ดำ

1. เพาะเมล็ด เมล็ดสบู่ดำไม่มีระยะพักตัว สามารถเพาะในถุงเพาะหรือกระบะทรายก็ได้อายุประมาณ 2 เดือนจึงนำไปปลูก สำหรับต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ด จะให้ผลผลิตได้ประมาณ 8 – 10 เดือนหลังปลูก



ลักษณะการปักชำด้วยกิ่งของต้นสบู่ดำ

2. การปักชำ ต้องคัดท่อนพันธุ์ที่มีสีเขียวปนน้ำตาลเล็กน้อย หรือกิ่งที่ไม่อ่อนและแก่เกินไป ความยาว 50 เซนติเมตร โดยปักลงในถุงเพาะหรือกระบะทรายก็ได้ ใช้เวลาปักชำประมาณ 2 เดือน จึงนำไปปลูก โดยจะให้ผลผลิตหลังปลูก ประมาณ 6 – 8 เดือน
3.การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรได้ทำการขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้แล้ว ซึ่งได้ผลเหมือนกับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชชนิดอื่นทั่วไป

การสกัดน้ำมันสบู่ดำ
1.การสกัดในห้องปฏิบัติการโดยใช้วิธีบดให้ละเอียด แล้วสกัดด้วยตัวทำละลาย ปิโตรเลี่ยมอีเทอร์ จะได้น้ำมัน 34.96 % จากเมล็ดรวมเปลือก และ 54.68 % จากเนื้อเมล็ด
2.การสกัดด้วยระบบไฮดรอริค จะได้น้ำมันประมาณ 25-30 % มีน้ำมันตกค้างในกาก 10-15 %
3.การสกัดด้วยระบบอัดเกลียว จะได้น้ำมันประมาณ 25-30 % มีน้ำมันตกค้างในกาก 10-15 %



เครื่องสกัดน้ำมันสบู่ดำ

การสกัดน้ำมันด้วยวิธีที่ 2,3 จะต้องนำเมล็ดมาทุบพอแตก แล้วนำไปเพิ่มความร้อน โดยการนำไปตากแดด หรือนึ่ง หรือนำเข้าตู้อบ ก่อนนำเข้าเครื่องสกัด เพื่อให้การสกัดน้ำมันกระทำได้งายขึ้น น้ำมันที่ได้จากการสกัดจะต้องนำไปกรองสิ่งสกปรกออก หรือทิ้งให้ตกตะกอน ก่อนนำไปใช้งาน

การใช้น้ำมันสบู่ดำกับเครื่องยนต์ดีเซล



ลักษณะน้ำมันสบู่ดำ

น้ำมันที่ได้จากการสกัดสามารถใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลที่เกษตรกรใช้อยู่ได้เลยโดยไม่ต้องใช้น้ำมันชนิดอื่นผสมอีก ซึ่งเป็นคุณสมบัติพิเศษเฉพาะ ทำให้เกษตรกรมีความสะดวกที่จะใช้งาน

ผลทดสอบเปรียบเทียบการใช้น้ำมันสบู่ดำกับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็ก

การทำงานของเครื่องยนต์

(รอบ/นาที)

อัตราการกินน้ำมัน

สบู่ดำ(ซีซี/ชม.)

อัตราการกินน้ำมันดีเซล

(ซีซี/ชม.)

1500

498

500

1600

494

498

1700

528

540

1800

576

586

1900

614

629

2000

665

696

2100

720

758

2200

770

804

2300

852

869

จากการทดสอบโดยใช้เครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กคูโบต้า ET 70 ปรากฏว่าเครื่องยนต์เดินเรียบสม่ำเสมอ ไม่มีการน๊อค สามารถเร่งเครื่องยนต์ได้ตามปกติและการใช้น้ำมันสบู่ดำสิ้นเปลืองน้อยกว่าน้ำมันดีเซลเล็กน้อย

การทดสอบไอเสียจากเครื่องยนต์

น้ำมันสบู่ดำ

น้ำมันดีเซล

เครื่องยนต์

รอบ/นาที

ควันดำ (%)

คาร์บอนมอน

น๊อกไซด์ (ppm)

ควันดำ (%)

คาร์บอนมอน

น๊อกไซด์ (ppm)

คูโบต้า

840

12.0

550

10.5

650

7 แรงม้า

2160

13.0

450

14.5

750

2600

12.0

725

12.5

500

ยันม่าร์

1000

11.5

500

10.0

500

18 แรงม้า

1600

14.5

650

15.5

500

2200

18.5

650

19.0

600

เฉลี่ย

1733

13.42

587

13.67

583

จากการทดสอบและวิเคราะห์ไอเสียของเครื่องยนต์ ทั้ง 2 เครื่องพบว่า ค่าควันดำของเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันสบู่ดำ เฉลี่ย 13.42 % ดีเซล 13.67 % ซึ่งไม่เกินค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ไม่เกิน 40 % ส่วนคาร์บอนมอนน๊อกไซด์ จากเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันสบู่ดำ เฉลี่ย 587 ppm ดีเซล 583 ppm ต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ไม่เกิน 6 % หรือ 60,000 ppm ค่าซัลเฟอร์ไดออกไซด์ สำหรับเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันสบู่ดำไม่พบ ในขณะที่น้ำมันดีเซลพบ 125 ppm

ผลจากการทดสอบกับเครื่องยนต์ เมื่อเดินเครื่องยนต์ด้วยน้ำมันสบู่ดำครบ 1000 ชั่วโมง ได้ถอดชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ออกมาตรวจสอบ เสื้อสูบ ลูกสูบ แหวน ลิ้น หัวฉีด และอื่น ๆ ไม่พบยางเหนียวจับ ทุกชิ้นยังคงสภาพดีเหมือนเดิม แสดงว่าน้ำมันสบู่ดำสามารถใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กเพื่อการเกษตรได้ ซึ่งจะเป็นการลดต้นทุนในการประกอบอาชีพของเกษตรกรรวมทั้งใช้พื้นที่ ที่ไม่สามารถปลูกพืชชนิดอื่นได้มาปลูกต้นสบู่ดำ เช่นที่ว่างเปล่า ที่ดอน และหัวคันนาเป็นต้น เป็นการใช้ประโยชน์ในที่ดินได้เต็มที่

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551

ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน


ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน


สาระสำคัญ
ในการทำงานทุกโครงงาน ผู้ทำต้องระมัดระวังตนเองให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น ทุกคนจึงต้องศึกษาการทำงานให้เกิดความปลอดภัย และเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นแล้วจะต้องรู้จักการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อช่วยเหลือให้ผู้ป่วยปลอดภัยถึงมือแพทย์ต่อไป
จุดประสงค์การเรียนรู้
อธิบายการปฏิบัติงานให้เกิดความปลอดภัยและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
เนื้อหา
ไฟฟ้าที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน นับว่าเป็นประโยชน์และให้ความสะดวกแก่เราอย่างยิ่ง แต่ในขณะเดียวกันก็อาจได้รับโทษภัยจากไฟฟ้าได้เช่นกัน เช่น อาจถูกไฟฟ้าดูดมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ฉะนั้นเราจึงควรศึกษาถึงวิธีการใช้ไฟฟ้าอย่างถูกต้อง และศึกษาถึงหลักการโดยทั่วไป เพื่อความปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้า ในการปฏิบัติโครงงานทุกครั้งนักเรียนจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน อุบัติเหตุอาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลาในขณะปฏิบัติงานจำเป็นที่จะต้องป้องกันและระมัดระวังเพื่อความปลอดภัยของทรัพย์สินและชีวิตของเรา
ในการปฏิบัติงานทุกครั้ง ผู้ปฏิบัติงานจะต้องคำนึงถึงความพร้อมในการทำงาน ได้แก่ ร่างกายไม่เหนื่อยอ่อน ตั้งใจทำงาน ไม่หยอกล้อเล่นกัน และความประมาท เป็นต้น นอกจากนี้ยังอาจเกิดสภาพของเครื่องมือที่ชำรุด และสภาพของสถานที่ปฏิบัติงานที่ไม่เอื้ออำนวยในการทำงาน สิ่งเหล่านี้อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
การปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย
ในการปฏิบัติงานโครงงานอิเล็กทรอนิกส์ทุกครั้งจะต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. พยายามฝึกให้มีความระมัดระวังในเรื่องความปลอดภัยจนเป็นนิสัย เพื่อความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น รวมทั้งป้องกันการชำรุดของเครื่องมือและอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ
2. พยายามระลึกอยู่เสมอว่า ความผิดพลาดครั้งแรกเกี่ยวกับไฟฟ้าอาจเป็นความผิดพลาดครั้งสุดท้าย
3. เครื่องมือเครื่องใช้ต้องมีสภาพที่จะใช้งานได้และไม่ชำรุด
4. เครื่องมือที่ใช้เสร็จแล้วต้องทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
5. ใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับงานที่ปฏิบัติ
6. ก่อนจะใช้เครื่องใช้จักรกลใด ๆ ต้องศึกษาให้เข้าใจถึงวิธีการใช้ให้ดีเสียก่อน ซึ่งอาจศึกษาได้จากคู่มือการใช้เครื่องมือหรือสอบถามอาจารย์ผู้ควบคุมก่อน
7. อย่าหลอกล้อหรือเล่นกับเพื่อนในขณะทำงานหรือกำลังใช้เครื่องมือต่าง ๆ
8. เมื่อมีอุบัติเหตุใด ๆ เกิดขึ้นรีบรายงานให้ผู้ควบคุมทราบไม่ว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยก็ตาม
9. เมื่อจะนำเครื่องมือไฟฟ้าชนิดเคลื่อนย้ายได้ไปใช้ ต้องแน่ใจว่ามีสายต่อลงดินเรียบร้อยแล้ว (สายต่อลงดินคือลวดตัวนำซึ้งต่อจากโลหะไปยังสายลงดินของวงจร)
10. เมื่อเราจะเจาะโลหะด้วยสว่านจะต้องจับชิ้นโลหะด้วยพกประกับให้มั่นคงเสมอ
11. เมื่อเกิดไฟไหม้จากไฟฟ้าจะต้องปลดสวิตซ์ตัดวงจรแล้วจึงรายงานให้เจ้าของสถานที่ทราบและพยายามดับไฟ หรือจำกัดขอบเขตไฟไหม้ให้ได้มากที่สุด
หลักการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย
1. ต้องระลึกอยู่เสมอว่าอันตรายจากไฟฟ้าไม่ว่าจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนกระแสที่ไหลผ่านตัวเรา
2. แรงดันไฟฟ้าที่สูงกว่า 50 โวลท์มีอันตรายต่อร่างกายทั้งสิ้น
3. ก่อนจะเปลี่ยนแปลงหรือทำการซ่อมเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้าใด ๆ ให้ปลดสะพานไฟออกจากวงจรก่อนเสมอ เช่น ปิดสวิตซ์ตัดไฟ และใช้มิเตอร์วัดแรงดันไฟฟ้าในวงจรที่จะตรวจซ่อม
4. เมื่อปลดสวิตซ์ตัดวงจรออกแล้วต้องผูกแผ่นป้ายอันตรายกำลังซ่อมทำวงจรไว้ที่สวิตซ์ และต้องเขียนชื่อกำกับไว้ด้วย (จะให้แน่ใจเก็บฟิวส์ใส่กระเป๋าไว้ด้วย)
5. ในการดึงปลั๊กออกจากเต้าเสียบ (out let) ให้จับที่ตัวปลั๊กด้วยมือที่แห้งและสะอาดห้ามดึงที่สายไฟ
6. เมื่อจะเปลี่ยนหรือใส่ฟิวส์ใหม่ ต้องยกสวิตซ์ตัดตอนออกก่อนเสมอ
7. อย่าเปลี่ยนฟิวส์ใหม่ให้มีขนาดโตขึ้นกว่าขนาดที่ถูกต้อง
8. เมื่อฟิวส์เกิดขาดขึ้นแล้วแสดงว่ามีสิ่งปกติเกิดขึ้นกับวงจรหรืออุปกรณ์ต้องแก้ไขข้อบกพร่องนั้นก่อนจะยอมให้มันทำงานต่อไป
9. ปลดสวิตซ์ปลดทางไฟออกก่อนทำการเปลี่ยนฟิวส์ทุกครั้ง
10.เมื่อจะเปลี่ยนหรือใส่ฟิวส์ ต้องยืนบนที่แห้ง และอย่าให้มือข้างที่ไม่ได้ทำงานไปจับต้องหรือสัมผัสกับสิ่งอื่นใดที่เป็นโลหะ
11. ช่างไฟฟ้าทุกคนจะต้องรู้จักวิธีผายปอดและการนวดหัวใจ
12. ก่อนที่จะนำเครื่องไฟฟ้าไปใช้ในงาน ต้องตรวจเทียบจากแผ่นป้ายของเครื่องว่าใช้กับแรงดันไฟฟ้าและ กระแสไฟฟ้าถูกต้อง
13. อุปกรณ์และสายไฟฟ้าที่ชำรุดอาจเกิดอันตรายต่อผู้ไปสัมผัส และอาจทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรอันเป็นเหตุทำให้เกิดอัคคีภัยได้ ดังนั้น ควรเปลี่ยนใหม่หรือแก้ไขให้ดีขึ้น
14. อย่าใช้เครื่องมือที่มีฉนวนหุ้มซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า เพราะกระแสไฟฟ้าอาจวิ่งเข้าหาตัวเราผ่านทางเครื่องมือเหล่านั้นได้
15. อย่านำเครื่องไฟฟ้ากระแสตรงไปใช้กับกระแสสลับ หรือกระแสสลับไปใช้กับกระแสตรงอย่าลืมปิดสวิตซ์หรือหมุนปุ่มไปตามการใช้นั้น ๆ
16. อย่าต่อเครื่องใช้ไฟฟ้ากับไฟฟ้าที่มีแรงดันคนละชนิดกัน ควรใช้หม้อแปลงไฟฟ้าปรับแรงดันไฟฟ้าให้มีระบบเดียวกันก่อน

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2551

หมาก

แปลงปลูกต้องมีการะบายน้ำดี ถ้าเป็นที่มีน้ำขังควรมีการยกร่อง หรือทำทางระบายน้ำ ก่อนปลูกต้องมีการไถและพรวนอย่างน้อย 2 ครั้ง ควรเก็บตอไม้และเศษไม้ออกเพราะเป็นแหล่งอาศัยของศัตรูพืช และปลวก
รูปแบบการปลูกอาจเป็นแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือสามเหลี่ยมด้านเท่า ระยะปลูก 2x2 เมตร การปลูกแบบสี่เหลี่ยม ใช้กล้า 400 ต้น/ไร่ ปลูกแบบสามเหลี่ยมใช้กล้า 461 ต้น/ไร่ แต่ถ้าปลูกบนร่อง จำนวนต้นจะลดลงขึ้นกับระยะระหว่างร่อง การปลูกแบบสี่เหลี่ยมควรทำสันร่องกว้าง 4 เมถ้าเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำควรขุดหลุม ขนาด 50x50x50 ซม. แต่ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง ขนาดหลุมเล็กกว่านี้ได้ รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก และหินฟอสเฟต คลุกกับดินชั้นบนแล้วกลบหลุมด้วยดินที่เหลือตร แบบสามเหลี่ยมควรกว้าง 3.50 เมตร ซึ่งจะปลูกได้ 3 แถว/ร่อง

วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551

สบู่ดำ

สบู่ดำ

สบู่ดำ เป็นพืชน้ำมันเพื่อพลังงานที่มีความสำคัญอีกชนิดหนึ่งที่นอกเหนือไปจากพืชน้ำมันอื่นๆ เช่น ปาล์มน้ำมัน และพืชตระกูลถั่วต่างๆ ซึ่งเมื่อถูกนำมาใช้ทั้งในด้านของการบริโภคและพลังงานในเวลาเดียวกันแล้ว สบู่ดำยังมีความแตกต่างจากพืชน้ำมันอื่นๆ เนื่องจากไม่สามารถที่จะนำมาบริโภคได้ มีเพียงการนำมาใช้สำหรับการเป็นยารักษาโรคเท่านั้นซึ่งก็ยังคงไม่ได้รับความสนใจที่แพร่หลายมากนัก แต่ยังคงมีบางกลุ่มที่นำมาใช้ในการทำเครื่องสำอางและน้ำมันหล่อลื่น อย่างไรก็ดีในปัจจุบันนี้สบู่ดำได้มีการส่งเสริมปลูกในประเทศไทยกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งองค์กรในสังกัดกรมวิชาการเกษตรและองค์กรของรัฐอื่นๆ รวมทั้งภาคเอกชนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ โดยเฉพาะการเน้นหนักในเรื่องของนำมาเป็นพลังงานทางการเกษตร เช่น เครื่องกลการเกษตรกรที่ใช้ในระดับหมู่บ้าน ใช้เป็นพลังงานที่ใช้กับเครื่องยนต์ภายในครัวเรือน ขณะที่รัฐบาลเองนั้นยังคงให้การสนับสนุนและชูนโยบายของการเป็นพืช
ประโยชน์ของสบู่ดำ
1.ยางจากก้านใบ ใช้ป้ายรักษาโรคปากนกกระจอก ห้ามเลือด แก้ปวดฟัน แก้ลิ้นเป็นฝ้าขาว โดยผสมกับน้ำนมมารดาป้ายลิ้น 2.ลำต้น ตัดเป็นท่อนต้มน้ำให้เด็กกินแก้ซางตาลขโมย ตัดเป็นท่อนแช่น้ำอาบแก้โรคพุพอง ใช้เป็นแนวรั้วป้องกันสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ ม้า แพะ เข้าทำลายผลผลิต 3.เมล็ด ้หีบเป็นน้ำมัน ใช้ทดแทนน้ำมันดีเซล ใช้บำรุงรากผม ใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ โดยใช้กากที่เหลือจากการหีบน้ำมัน ซึ่งมีธาตุอาหารหลัก มากกว่าปุ๋ยหมักและมูลสัตว์หลายชนิด ยกเว้นมูลไก่ที่มีฟอสฟอรัส และโปรแตสเซี่ยม มากกว่า และยังมีสารพิษ Curcin มีฤทธิ์เหมือนสลอด เมื่อกินเข้าไปแล้วจะทำให้ท้องเดิน
การสกัดน้ำมันสบู่ดำ 1.การสกัดในห้องปฏิบัติการโดยใช้วิธีบดให้ละเอียด แล้วสกัดด้วยตัวทำละลาย ปิโตรเลี่ยมอีเทอร์ จะได้น้ำมัน 34.96 % จากเมล็ดรวมเปลือก และ 54.68 % จากเนื้อเมล็ด 2.การสกัดด้วยระบบไฮดรอริค จะได้น้ำมันประมาณ 25-30 % มีน้ำมันตกค้างในกาก 10-15 % 3.การสกัดด้วยระบบอัดเกลียว จะได้น้ำมันประมาณ 25-30 % มีน้ำมันตกค้างในกาก 10-15 %

วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ผมจะปลูกผักผสมอย่างไร

ผมจะปลูกพืชผสมอย่างไร


หลังจากเตรียมดินโดยย่อยหน้าดินให้ละเอียดแล้ว นิยมหว่านเมล็ดลงบนแปลงปลูกโดยตรงมากกว่าการย้ายกล้า หว่านเมล็ดให้กระจายทั่วทั้งผิวแปลง ให้เมล็ดห่างกันประมาณ 2-3 เซนติเมตร ใช้ดินผสมหรือปุ๋ยคอกที่สลายตัวดีแล้วหว่านกลบเมล็ดให้หนาประมาณ 0.6-1 เซนติเมตร เพื่อเก็บรักษาความชื้นให้เมล็ดและป้องกันเมล็ดถูกน้ำกระแทกกระจาย คลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้งสะอาดบางๆ รดน้ำให้ทั่วถึงและสม่ำเสมอ ต้นกล้าจะงอกภายใน 7 วัน หลังจากคะน้างอกแล้วประมาณ 20 วัน หรือต้นสูงประมาณ 10 เซนติเมตร ให้เริ่มทำการถอนแยกครั้งแรก โดยเลือกถอนต้นที่ไม่สมบูรณ์ออก ให้เหลือระยะห่างระหว่างต้นไว้ประมาณ 10 เซนติเมตร ซึ่งต้นอ่อนของคะน้าในวัยนี้เมื่อเด็ดรากออกแล้วสามารถนำไปขายได้

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2550

นาย สมศักดิ์ อวยชัย

นาย สมศักดิ์ อวยชัย ชั้น 2/3 เลขที่ 14 เกิดวันที่ 3กันยายน พ.ศ.2536
อายุ 13

ดอกกระเจียว


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cercuma alismatifolia Gagnepชื่อไทย : กระเจียว , ปทุมมา , บัวสวรรค์ ชื่อสามัญ : Siam Tulip , Patummaชื่อการค้า : Curcuma Sharome สกุลย่อย : Paracurcumaกลุ่ม : Patummaทรงต้น : คล้ายกล้วยถิ่นกำเนิด : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย
ลักษณะทั่วไป : - ทรงพุ่มสูงประมาณ 55 เซนติเมตร กว้างประมาณ 50 เซ็นติเมตร ลำต้นเทียมสูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร - ใบ กาบใบสีเขียวโคนสีแดง ก้านใบยาวประมาณ 10 เซ็นติเมตร ใบเป็นรูปรีค่อนข้างแคบ กว้าง 7.5 เซ็นติเมตร ยาว 32 เซ็นติเมตร แผ่นใบเรียบไม่มีขน บริเวณเส้นกลางใบอาจมีสีแดง ไม่มีเส้นลอย- ดอก ช่อดอกเกิดจากปลายลำต้นเทียม ก้านช่อดอกยาวประมาณ 50 เซ็นติเมตร ใบประดับสีเขียว บางครั้งอาจมีสีม่วงชมพูแต้มบ้าง ใบประดับไม่มีขน ขนาดกว้างประมาณ 2 เซ็นติเมตร ยาว 2.5 เซ็นติเมตร ใบประดับส่วนบนมีสีชมพูอมม่วง กว้าง 3.2 เซ็นติเมตร ยาว 5.5 เซ็นติเมตร จำนวนใบประดับส่วนบนจะแตกกันตามพันธุ์ และความสมบูรณ์ของต้น ดอกสีขาวปากสีม่วง ปากมีสันตามแนวยาว 2 สัน ด้านในของสันเป็นสีเหลือง กลีบสเตมิโนดมีสีขาวขนานกัน อับละอองเรณูป่องตลอดอัน
การขยายพันธุ์ : การเพาะเมล็ด , การแยกเหง้า , การผ่าเหง้า , การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ