วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551

ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน


ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน


สาระสำคัญ
ในการทำงานทุกโครงงาน ผู้ทำต้องระมัดระวังตนเองให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น ทุกคนจึงต้องศึกษาการทำงานให้เกิดความปลอดภัย และเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นแล้วจะต้องรู้จักการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อช่วยเหลือให้ผู้ป่วยปลอดภัยถึงมือแพทย์ต่อไป
จุดประสงค์การเรียนรู้
อธิบายการปฏิบัติงานให้เกิดความปลอดภัยและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
เนื้อหา
ไฟฟ้าที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน นับว่าเป็นประโยชน์และให้ความสะดวกแก่เราอย่างยิ่ง แต่ในขณะเดียวกันก็อาจได้รับโทษภัยจากไฟฟ้าได้เช่นกัน เช่น อาจถูกไฟฟ้าดูดมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ฉะนั้นเราจึงควรศึกษาถึงวิธีการใช้ไฟฟ้าอย่างถูกต้อง และศึกษาถึงหลักการโดยทั่วไป เพื่อความปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้า ในการปฏิบัติโครงงานทุกครั้งนักเรียนจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน อุบัติเหตุอาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลาในขณะปฏิบัติงานจำเป็นที่จะต้องป้องกันและระมัดระวังเพื่อความปลอดภัยของทรัพย์สินและชีวิตของเรา
ในการปฏิบัติงานทุกครั้ง ผู้ปฏิบัติงานจะต้องคำนึงถึงความพร้อมในการทำงาน ได้แก่ ร่างกายไม่เหนื่อยอ่อน ตั้งใจทำงาน ไม่หยอกล้อเล่นกัน และความประมาท เป็นต้น นอกจากนี้ยังอาจเกิดสภาพของเครื่องมือที่ชำรุด และสภาพของสถานที่ปฏิบัติงานที่ไม่เอื้ออำนวยในการทำงาน สิ่งเหล่านี้อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
การปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย
ในการปฏิบัติงานโครงงานอิเล็กทรอนิกส์ทุกครั้งจะต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. พยายามฝึกให้มีความระมัดระวังในเรื่องความปลอดภัยจนเป็นนิสัย เพื่อความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น รวมทั้งป้องกันการชำรุดของเครื่องมือและอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ
2. พยายามระลึกอยู่เสมอว่า ความผิดพลาดครั้งแรกเกี่ยวกับไฟฟ้าอาจเป็นความผิดพลาดครั้งสุดท้าย
3. เครื่องมือเครื่องใช้ต้องมีสภาพที่จะใช้งานได้และไม่ชำรุด
4. เครื่องมือที่ใช้เสร็จแล้วต้องทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
5. ใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับงานที่ปฏิบัติ
6. ก่อนจะใช้เครื่องใช้จักรกลใด ๆ ต้องศึกษาให้เข้าใจถึงวิธีการใช้ให้ดีเสียก่อน ซึ่งอาจศึกษาได้จากคู่มือการใช้เครื่องมือหรือสอบถามอาจารย์ผู้ควบคุมก่อน
7. อย่าหลอกล้อหรือเล่นกับเพื่อนในขณะทำงานหรือกำลังใช้เครื่องมือต่าง ๆ
8. เมื่อมีอุบัติเหตุใด ๆ เกิดขึ้นรีบรายงานให้ผู้ควบคุมทราบไม่ว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยก็ตาม
9. เมื่อจะนำเครื่องมือไฟฟ้าชนิดเคลื่อนย้ายได้ไปใช้ ต้องแน่ใจว่ามีสายต่อลงดินเรียบร้อยแล้ว (สายต่อลงดินคือลวดตัวนำซึ้งต่อจากโลหะไปยังสายลงดินของวงจร)
10. เมื่อเราจะเจาะโลหะด้วยสว่านจะต้องจับชิ้นโลหะด้วยพกประกับให้มั่นคงเสมอ
11. เมื่อเกิดไฟไหม้จากไฟฟ้าจะต้องปลดสวิตซ์ตัดวงจรแล้วจึงรายงานให้เจ้าของสถานที่ทราบและพยายามดับไฟ หรือจำกัดขอบเขตไฟไหม้ให้ได้มากที่สุด
หลักการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย
1. ต้องระลึกอยู่เสมอว่าอันตรายจากไฟฟ้าไม่ว่าจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนกระแสที่ไหลผ่านตัวเรา
2. แรงดันไฟฟ้าที่สูงกว่า 50 โวลท์มีอันตรายต่อร่างกายทั้งสิ้น
3. ก่อนจะเปลี่ยนแปลงหรือทำการซ่อมเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้าใด ๆ ให้ปลดสะพานไฟออกจากวงจรก่อนเสมอ เช่น ปิดสวิตซ์ตัดไฟ และใช้มิเตอร์วัดแรงดันไฟฟ้าในวงจรที่จะตรวจซ่อม
4. เมื่อปลดสวิตซ์ตัดวงจรออกแล้วต้องผูกแผ่นป้ายอันตรายกำลังซ่อมทำวงจรไว้ที่สวิตซ์ และต้องเขียนชื่อกำกับไว้ด้วย (จะให้แน่ใจเก็บฟิวส์ใส่กระเป๋าไว้ด้วย)
5. ในการดึงปลั๊กออกจากเต้าเสียบ (out let) ให้จับที่ตัวปลั๊กด้วยมือที่แห้งและสะอาดห้ามดึงที่สายไฟ
6. เมื่อจะเปลี่ยนหรือใส่ฟิวส์ใหม่ ต้องยกสวิตซ์ตัดตอนออกก่อนเสมอ
7. อย่าเปลี่ยนฟิวส์ใหม่ให้มีขนาดโตขึ้นกว่าขนาดที่ถูกต้อง
8. เมื่อฟิวส์เกิดขาดขึ้นแล้วแสดงว่ามีสิ่งปกติเกิดขึ้นกับวงจรหรืออุปกรณ์ต้องแก้ไขข้อบกพร่องนั้นก่อนจะยอมให้มันทำงานต่อไป
9. ปลดสวิตซ์ปลดทางไฟออกก่อนทำการเปลี่ยนฟิวส์ทุกครั้ง
10.เมื่อจะเปลี่ยนหรือใส่ฟิวส์ ต้องยืนบนที่แห้ง และอย่าให้มือข้างที่ไม่ได้ทำงานไปจับต้องหรือสัมผัสกับสิ่งอื่นใดที่เป็นโลหะ
11. ช่างไฟฟ้าทุกคนจะต้องรู้จักวิธีผายปอดและการนวดหัวใจ
12. ก่อนที่จะนำเครื่องไฟฟ้าไปใช้ในงาน ต้องตรวจเทียบจากแผ่นป้ายของเครื่องว่าใช้กับแรงดันไฟฟ้าและ กระแสไฟฟ้าถูกต้อง
13. อุปกรณ์และสายไฟฟ้าที่ชำรุดอาจเกิดอันตรายต่อผู้ไปสัมผัส และอาจทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรอันเป็นเหตุทำให้เกิดอัคคีภัยได้ ดังนั้น ควรเปลี่ยนใหม่หรือแก้ไขให้ดีขึ้น
14. อย่าใช้เครื่องมือที่มีฉนวนหุ้มซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า เพราะกระแสไฟฟ้าอาจวิ่งเข้าหาตัวเราผ่านทางเครื่องมือเหล่านั้นได้
15. อย่านำเครื่องไฟฟ้ากระแสตรงไปใช้กับกระแสสลับ หรือกระแสสลับไปใช้กับกระแสตรงอย่าลืมปิดสวิตซ์หรือหมุนปุ่มไปตามการใช้นั้น ๆ
16. อย่าต่อเครื่องใช้ไฟฟ้ากับไฟฟ้าที่มีแรงดันคนละชนิดกัน ควรใช้หม้อแปลงไฟฟ้าปรับแรงดันไฟฟ้าให้มีระบบเดียวกันก่อน

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2551

หมาก

แปลงปลูกต้องมีการะบายน้ำดี ถ้าเป็นที่มีน้ำขังควรมีการยกร่อง หรือทำทางระบายน้ำ ก่อนปลูกต้องมีการไถและพรวนอย่างน้อย 2 ครั้ง ควรเก็บตอไม้และเศษไม้ออกเพราะเป็นแหล่งอาศัยของศัตรูพืช และปลวก
รูปแบบการปลูกอาจเป็นแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือสามเหลี่ยมด้านเท่า ระยะปลูก 2x2 เมตร การปลูกแบบสี่เหลี่ยม ใช้กล้า 400 ต้น/ไร่ ปลูกแบบสามเหลี่ยมใช้กล้า 461 ต้น/ไร่ แต่ถ้าปลูกบนร่อง จำนวนต้นจะลดลงขึ้นกับระยะระหว่างร่อง การปลูกแบบสี่เหลี่ยมควรทำสันร่องกว้าง 4 เมถ้าเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำควรขุดหลุม ขนาด 50x50x50 ซม. แต่ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง ขนาดหลุมเล็กกว่านี้ได้ รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก และหินฟอสเฟต คลุกกับดินชั้นบนแล้วกลบหลุมด้วยดินที่เหลือตร แบบสามเหลี่ยมควรกว้าง 3.50 เมตร ซึ่งจะปลูกได้ 3 แถว/ร่อง

วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551

สบู่ดำ

สบู่ดำ

สบู่ดำ เป็นพืชน้ำมันเพื่อพลังงานที่มีความสำคัญอีกชนิดหนึ่งที่นอกเหนือไปจากพืชน้ำมันอื่นๆ เช่น ปาล์มน้ำมัน และพืชตระกูลถั่วต่างๆ ซึ่งเมื่อถูกนำมาใช้ทั้งในด้านของการบริโภคและพลังงานในเวลาเดียวกันแล้ว สบู่ดำยังมีความแตกต่างจากพืชน้ำมันอื่นๆ เนื่องจากไม่สามารถที่จะนำมาบริโภคได้ มีเพียงการนำมาใช้สำหรับการเป็นยารักษาโรคเท่านั้นซึ่งก็ยังคงไม่ได้รับความสนใจที่แพร่หลายมากนัก แต่ยังคงมีบางกลุ่มที่นำมาใช้ในการทำเครื่องสำอางและน้ำมันหล่อลื่น อย่างไรก็ดีในปัจจุบันนี้สบู่ดำได้มีการส่งเสริมปลูกในประเทศไทยกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งองค์กรในสังกัดกรมวิชาการเกษตรและองค์กรของรัฐอื่นๆ รวมทั้งภาคเอกชนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ โดยเฉพาะการเน้นหนักในเรื่องของนำมาเป็นพลังงานทางการเกษตร เช่น เครื่องกลการเกษตรกรที่ใช้ในระดับหมู่บ้าน ใช้เป็นพลังงานที่ใช้กับเครื่องยนต์ภายในครัวเรือน ขณะที่รัฐบาลเองนั้นยังคงให้การสนับสนุนและชูนโยบายของการเป็นพืช
ประโยชน์ของสบู่ดำ
1.ยางจากก้านใบ ใช้ป้ายรักษาโรคปากนกกระจอก ห้ามเลือด แก้ปวดฟัน แก้ลิ้นเป็นฝ้าขาว โดยผสมกับน้ำนมมารดาป้ายลิ้น 2.ลำต้น ตัดเป็นท่อนต้มน้ำให้เด็กกินแก้ซางตาลขโมย ตัดเป็นท่อนแช่น้ำอาบแก้โรคพุพอง ใช้เป็นแนวรั้วป้องกันสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ ม้า แพะ เข้าทำลายผลผลิต 3.เมล็ด ้หีบเป็นน้ำมัน ใช้ทดแทนน้ำมันดีเซล ใช้บำรุงรากผม ใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ โดยใช้กากที่เหลือจากการหีบน้ำมัน ซึ่งมีธาตุอาหารหลัก มากกว่าปุ๋ยหมักและมูลสัตว์หลายชนิด ยกเว้นมูลไก่ที่มีฟอสฟอรัส และโปรแตสเซี่ยม มากกว่า และยังมีสารพิษ Curcin มีฤทธิ์เหมือนสลอด เมื่อกินเข้าไปแล้วจะทำให้ท้องเดิน
การสกัดน้ำมันสบู่ดำ 1.การสกัดในห้องปฏิบัติการโดยใช้วิธีบดให้ละเอียด แล้วสกัดด้วยตัวทำละลาย ปิโตรเลี่ยมอีเทอร์ จะได้น้ำมัน 34.96 % จากเมล็ดรวมเปลือก และ 54.68 % จากเนื้อเมล็ด 2.การสกัดด้วยระบบไฮดรอริค จะได้น้ำมันประมาณ 25-30 % มีน้ำมันตกค้างในกาก 10-15 % 3.การสกัดด้วยระบบอัดเกลียว จะได้น้ำมันประมาณ 25-30 % มีน้ำมันตกค้างในกาก 10-15 %